สาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวน และการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวว่า คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้
เด็กอายุ 3 ขวบ ควรมีความสามารถดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กลางวันและกลางคืน
3.ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสร้างสรรค์งานศิลปะเด็ก
เด็กอายุ 4 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3.ใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4.เข้า ใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
เด็กอายุ 5 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน เรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
3.เข้าใจตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4.เข้าใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน ต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
"การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น" นางเชอรี่กล่าว
เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่างคือให้เด็กเรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุก พร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปสนใจแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย สอบถามโทร.0-2390-4021 ต่อ 2501 อีเมล์nsris@ipst.ac.th
ที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวว่า คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้
เด็กอายุ 3 ขวบ ควรมีความสามารถดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กลางวันและกลางคืน
3.ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสร้างสรรค์งานศิลปะเด็ก
เด็กอายุ 4 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา เรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา กิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3.ใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4.เข้า ใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
เด็กอายุ 5 ขวบ
1.มีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ เข้าใจการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2.เข้าใจความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน เรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
3.เข้าใจตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4.เข้าใจรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน ต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
"การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น" นางเชอรี่กล่าว
เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่างคือให้เด็กเรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุก พร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปสนใจแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย สอบถามโทร.0-2390-4021 ต่อ 2501 อีเมล์nsris@ipst.ac.th
ที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น